ตลาดหุ้นฮ่องกงเทกระจาดในมุมมองของ Value at Risk แบบต่างๆ

เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงเทกระจาดไป 6% ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เราจะไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนะ แต่การทำงานของข้อมูลการลงทุนนะครับโดยเฉพาะหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆเนี่ย  Characteristics ของมันก็มีความ Random อยู่มาก แต่ไอ้การ Random นี้เราสามารถประเมินได้ (ในคอร์ส Python for Finance คงจำได้ว่าเรามีวิธีการประเมินเหตุการณ์แบบนี้อยู่แล้วด้วยสิ่งที่ชื่อว่า Value At Risk)  ซึ่งเป็นวิธีการประเมินความเสี่ยงที่ค่อนข้างจะคลาสสิคนะครับแล้วมันก็จะมีหลักๆอยู่ 2 แบบ  เหตุการณ์ที่ไม่เกิดบ่อยแบบ ทั้งตลาดตกวันเดียว -6% แบบนี้มันจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดด้านปลายของการแจกแจง ฉะนั้นเราจะมาดูข้อดีข้อเสียของ Value At Risk แต่ละแบบกันครับ แบบไหนที่จะประเมินได้สมจริงสมจังกว่าในกรณีที่เกิดปัญหาการแจกแจงเกิดที่ปลายด้านของการแจกแจงแบบนี้ แบบไหนที่มีจุดอ่อนกับการเหตุการณ์แบบตลาดฮ่องกงเมื่อวานโดยเฉพาะ Data ที่ใช้ Data ใช้ เป็นดัชนีฮังเซงตลาดหุ้นฮ่งกงตั้งแต่ปี ถึงปี 2022 วันที่ 24 เดือน 10 ซึ่งก็คือเมื่อวานนี้นะครับ ก็เป็นเวลากว่า35 ปี มีข้อมูลใน observe ทั้งหมด 8844 วัน แบบแรก Non parametric Value…

ประเมินโอกาสชนะพนันด้วย Monte Carlo Simulation

ห่างหายกันไปนานเหมือนกันนะครับสำหรับบทความวันนี้เราจะมาเราจะมาเข้าบ่อนพนันกันบ้างแต่ว่าไม่ใช่บ่อนพนันจริงๆนะครับ มันคือบ่อนพนัน Simulation ของเราเองนะครับเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยเราจะใช้เทคนิค Monte Carlo Simulation ซึ่งเป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ Stochastic process เพื่อมาช่วยเราประเมินโอกาสการชนะหรือโอกาสการแพ้จากการเดิมพันในบ่อนคาสิโนกัน โดยเรามาประเมินโอกาสชนะจากการทอยเต๋า, โอกาสถูกรางวัลที่ 1 ซึ่งเราจะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกการพนันกับโลกไฟแนนซ์ เราจะเห็น characteristics การสุ่มของมันที่โลกไฟแนนซ์มีมากกว่านี้เยอะ ทำให้เรารู้ว่าทำไม “การ backtest ด้วย indicator เทพ ซักตัวแล้วได้ผลดีมากๆๆ อาจะเป็นแค่เรื่องไร้สาระจากมุมมอง Stochastic ก็ได้” โดยมีวีดีโอการทำโปรเจ็คเล็กๆตัวนี้อยู่ในคอร์สฟรี Python programming ของเรา(กำลังอยู่ในขั้นตอนอัพเดตอยู่ครับ) Stochastic process vs Deterministic  process Monte Carlo Simulation ก็เป็น stochastic process ตัวหนึง คำว่า “stochastic” ถ้าเราไปดูใน google เราจะเห็นว่า stochastic   แปลว่า “สุ่ม” ต่างกับด้านตรงข้ามของมันคือ…

อยากลงทุน แต่ไม่รู้จะเอาข้อมูลจากไหน? มาทางครับ “ชี้เป้า Python API แหล่งรวมข้อมูลการลงทุนที่น่าสนใจ”

เราจะเอาข้อมูลหุ้นข้อมูลการลงทุนจากไหนดีครับ? คำถามนับว่าเป็นคำถามที่ได้รับหลังไมค์บ่อยต้นๆ เลยคิดว่าควรจะรวบรวม Python Library ดึงข้อมูลมารวมๆกันไว้ที่เดียวกันพร้อมข้อดีข้อเสียของแต่ละที่ครับ 1.Yfinance (Yahoo Finance) source: https://github.com/ranaroussi/yfinance ตัวนี้น่าจะโด่งดังที่สุดตัวนึง เค้าแจกข้อมูลอะไรบ้าง? ง่ายๆ ก็คือ แจกที่ Yahoo Finance แจกนั่นแหละครับ เช่น ราคาหุ้นย้อนหลัง คริปโต งบการเงิน ข้อมูลบริษัท ทุกอย่างที่ Yahoo เค้าปล่อยให้เราเข้าถึงได้ฟรีเลย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะชื่อ Yfinance แต่นี่ไม่ใช่ของ Yahoo เองนะครับ แต่เป็น Open Source Tool ที่ช่วยเราดึงข้อมูลจาก Yahoo Finance เท่านั้นเอง ฉะนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์ Yahoo อัพเดตเปลี่ยนแปลงอะไร ก็อาจจะต้องใช้เวลาอยู่บ้างกว่าที่ Lib ตัวนี้จะถูกแก้ไขกลับมาใช้งานได้ และก็ข้อมูลจะมี Delay อยู่นะครับ แต่ก็ฟรีอะนะ ก็ต้องอดทนกันซักเล็กน้อย 2. Pandas-datareader source:…

รายละเอียดคอร์ส AI for Investment: from AI to Fundamental Investing

คอร์สนี้เป็นคอร์ส “ประยุกต์ใช้ศาสตร์ Artificial Intelligence ในการลงทุน” ภายในคอร์ส เราจะเขียนโปรแกรมที่สามารถ “เลือกหุ้น” ที่จะลงทุนในระยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยการใช้เทคนิค Machine learning เพื่อคัดแยกหุ้นที่น่าลงทุนมาให้เรา เป้าหมายของคอร์ส สร้างโปรเจคเพื่อ“คัดแยกหุ้นที่น่าสนใจด้วย Machine Learning” เราจะพาทุกท่านมาสร้าง ตะแกรงร่อนหุ้น เพื่อเฟ้นหาหุ้นที่น่าสนใจท่ามกลางหุ้นนับพันตัว!!! รายละเอียดหัวข้อต่างๆ ที่เราจะได้เรียนรู้จากการเรียนคอร์สนี้ เรียนรู้วิธีการหาข้อมูลหุ้น ข้อมูลงบการเงิน ประเภทข้อมูล ข้อมูลสูงระดับล้านแถว เรียนรู้วิธีการจัดการข้อมูลงบการเงิน และการสร้าง Financial Feature ที่ส่งผลต่อการทำนายด้วย โมเดล Machine Learning การทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleaning) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสร้างโมเดล AI ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Machine Learning เช่น การแบ่งข้อมูล Train-Test Set ปัญหา Overfittingการหาจุดสมดุลของโมเดล (Bias Variance Tradeoff) Machine…

จากต้นไม้แห่งการตัดสินใจ (Decision tree) สู่ ต้นไม้เพื่อการลงทุน (Investing tree)

บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ Machine Learning algorithm ที่มีชื่อว่า “Decision Tree” กัน ถึงแม้จะเป็น Algorithm ที่ไม่ซับซ้อน แต่ก็นับว่ามีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของ Algorithm ที่รู้จักกันดี อย่าง “Random Forest” เป็นเป็น Algorithm ที่มีประสิทธิภาพมากๆ และสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งเป็นหนึ่งอ Algorithm ที่ AlgoAddict เลือกนำมาสอนอย่างละเอียดในคอร์ส “AI เพื่อการลองทุน” จึงนับเป็นอีกหนึ่ง Algorithm ที่ควรจะทำความรู้จัก ต้นไม้ตัดสินใจ หรือ Decision Tree เป็นอีกหนึ่งอัลกอริทึ่มของ Machine Learning ประเภท มีผู้สอน (Supervised Learning) ที่มีข้อดีหลักๆ อยู่ 4 ข้อคือ สร้างได้ง่าย ใช้งานได้ง่าย แปลผลได้ง่าย สามารถใช้ได้กับทั้งปัญหาแบบ Classification และ Regression…

มาลองใช้ Random Forest ช่วยในการลงทุนกันดีกว่า

บทความนี้ เราจะมาลองใช้ Machine Learning ตัวที่ขึ้นชื่อว่าดีมากอีกตัวหนึ่งคือ Random Forest มาช่วยในการทำนายการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นกัน ระหว่างที่เรากำลังจัดทำเนื้อหาคอร์สใหม่ ที่ปัจจุบันเสร็จไปแล้วกำลังอยู่ในขั้นตอนการอัดวีดีโอนะครับ และในคอร์สนั้นเราก็มีการใช้ Random Forest ในการทำนายราคาหลักทรัพย์เช่นกัน วันนี้เราเลยเอามาแปะให้เห็นภาพแบบคร่าวๆก่อนนะครับ (เนื้อหาในคอร์สลึกว่านี้เยอะมาก) ทำไมต้อง Random Forest Random Forest เป็นอีกหนึ่งอัลกอริทึ่มที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และทำผลงานได้ค่อนข้างดี ในขณะที่ตัวโมเดลเองก็ไม่ได้ซับซ้อนจนเกินไป Random Forest เป็นอัลกอริทึ่มที่พัฒนาต่อยอดจากอัลกอริทึ่มพื้นฐานอย่าง Decision Tree ที่มีการใช้ต้นไม้ในการตัดสินใจ โดยในการสร้างต้นไม้ที่ใช้ในการตัดสินใจขึ้นนั้น จะอาศัยหลักการสร้างกฏสำหรับการแบ่งต้นไม้ออกเป็นกิ่งๆ และจัดให้ข้อมูลที่มีเงื่อนไขตรงตามที่กำหนดถูกจัดอยู่ในใบของแต่ละกิ่งที่ได้รับการแบ่งข้างต้น Decision Tree ถือเป็นอัลกอริทึ่มที่พยายามจัดการกับข้อมูลด้วยการสร้างต้นไม้เพียงแต่ 1 ต้น เท่านั้น ทำไม่ยังไม่สามารถจัดการกับข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีการคิดค้นอัลกอริทึ่มที่ประกอบไปด้วยต้นไม้มากกว่า 1 ต้นในการตัดสินใจ คือ Random Forest หรือ “ป่า” ที่ใช้ในการตัดสินใจ ขึ้นมา ซึ่งในการทำงานของ Random Forest นี้…

การทำ Recursive Feature Section ง่ายๆ ใน Python Sklearn ที่ช่วยให้การเขียนโค้ดเลือก Feature ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป [แจก Source Code]

อะไรคือ Feature Section? Feature Selection แปลเป็นไทยได้ตรงตัวเลยก็คือ “การเลือกฟีเจอร์” หรือ การเลือกคุณลักษณะของข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของ Machine Learning ถ้าพูดให้ง่ายขึ้นอีกก็คือ เลือกว่าคอลัมน์ไหนในตัวข้อมูลที่เราจะเลือกใช้งานนั่นเอง จากบทความที่แล้ว ในเรื่อง “พอกันทีกับความผิดพลาดเดิมๆ ด้วยการสร้างโมเดล Machine Learning ด้วยฟีเจอร์ทั้งหมดที่มี!“ จากบทความที่แล้ว ผู้อ่านก็จะเห็นแล้วว่าการโยนฟีเจอร์ทั้งหมดเข้าไปทำงานทันทีโดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ เลย สามารถก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ๆได้หลายอย่าง ดังนั้น ในบทความนี้ เราจึงขอนำเสนอหนึ่งในวิธีการพื้นฐานที่ใช้สำหรับการเลือกฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า “Recursive Feature Selection” ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ซับ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเลือกฟีเจอร์สำหรับมือใหม่ได้อย่างไม่ยากค่ะ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการมีฟีเจอร์ที่มากเกินไปได้ระดับหนึ่งค่ะ Recursive Feature Selection “Recursive Feature Selection” เป็น โมดูลนึงที่ Sklearn เตรียมเอาไว้ให้ผู้ใช้ที่ต้องการทำ Machine Learning ด้วย Python ได้เรียกใช้เพื่อการกำหนดการเลือกฟีเจอร์ที่จะนำมาใช้งานได้อย่างไม่ยาก โมดูนี้มีหลักการทำงานที่ง่ายๆ คือ การวนลูปเลือกฟีเจอร์ หรือกลุ่มของฟีเจอร์ แล้วทำการทดสอบการสร้างโมเดลด้วย Machine Learning…

พอกันทีกับความผิดพลาดเดิมๆ ด้วยการสร้างโมเดล Machine Learning ด้วยฟีเจอร์ทั้งหมดที่มี!

จริงอยู่ที่มีโลกแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน ข้อมูลนั้นหาได้ง่ายมาก เมื่อเราสนใจเรื่องใดเรื่องนึง ก็มักจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่นับไม่ถ้วน ส่งผลให้เมื่อเราทำการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการสร้างโมเดล Machine Learning ด้าต้าของเราก็จะมีจำนวน คอลัมน์ หรือ ฟิลด์ ที่เกี่ยวข้ออยู่มากมายนั่นเอง การมีคอลัมน์มาก หมายถึง เรามี information ที่ใช้ในการอธิบายข้อมูลมากขึ้น สามารถอธิบายข้อมูลได้ละเอียดขึ้น มีมิติในการมองข้อมูลมากขึ้น ลักษณะแบบนี้ ฟังดูดีกันใช่มั้ยคะ? แต่มันจะดีสำหรับเจ้า Machine Learning ในการเรียนรู้รึเปล่า? ตอบได้เลยว่า “ไม่ดี” ค่ะ การมีฟีเจอร์เยอะแยะมากมาย มีโอกาสเกิดการซ้ำซ้อนกันได้สูง (Redundant Features) หรือ ฟีเจอร์บางตัวแทบจะไม่มีความสัมพันธ์ (Irrelevant Features) กับสิ่งที่เราทำนายเลยด้วยซ้ำ เจ้าความซ้ำซ้อน และ ความไม่เกี่ยวข้อง ตัวนี้เอง ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการเรียนรู้ของโมเดล Machine Learning โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่จำนวนข้อมูลมีจำกัด (มีจำนวนแถวข้อมูลน้อย ในขณะที่มีจำนวนคอลัมน์เยอะ) ดังนั้น ในการสร้างโมเดล Machine Learning นั้น เราไม่นิยมโยนฟีเจอร์ที่มีอยู่ทั้งหมดมาใช้งานตู้มเดียวเลย เนื่องด้วย…

โมเดลไหนเหมาะกับการลงทุนที่สุด? ต้องใช้โมเดลที่ซับซ้อนขนาดไหนถึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอ? โมเดลยิ่งยากยิ่งดีจริงหรือไม่?

พักหลังมานี้ผมได้รับคำถามหลังไมค์มาค่อนข้างบ่อย ว่าโมเดลไหนกันแน่ที่ลงทุนได้ผลดีที่สุด ผมจะสอนถึงไป deep learning หรือเปล่า คำตอบคือทำแน่ครับ แต่มันเป็นควรจะแยกไว้ต่างหากอีกเรื่องหนึงเลย แต่เอาเถอะ มาที่คำถามกันว่าโมเดลไหนดีที่สุดกันก่อน ในความคิดของผมอันที่จริง ปัญหานี้นับเป็นปัญหาของมือใหม่อย่างหนึ่งครับ คือความคิดที่เป็น myth ที่ว่า machine learning model ยิ่งลึกซึ้ง ยิ่งซับซ้อนมากๆ จะยิ่งดี ความคิดที่ว่า โมเดลพื้นฐานอย่าง linear หรือ logistic regression เป็นโมเดลที่แย่ เพราะง่ายเกินไป! ถ้าเพิ่มความละเอียดไปเป็น support vector machine มันก็จะยิ่งได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น หรือ เพิ่มรายละเอียดไปถึงโมเดลที่ลึกซึ่งมากขึ้นอย่างโมเดลที่โด่งดังในช่วง 4 -5 ปีมานี้่อย่าง neural network deep learning ก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก โมเดลยิ่งซับซ้อนยิ่งดีจริงหรือเปล่า? คำตอบของผมคือ ไม่ครับ ไม่จริงซะทีเดียว ML หลายๆโมเดลมันก็เป็นแค่การแก้ปัญหาเชิง geometric เท่านั้น แล้วโมเดลไหนเหมาะกับปัญหาของเราทีสุด? คำตอบสั้นๆ ก็คือ…

8 เทคนิคง่ายๆ ป้องกัน Overfitting เพื่อโมเดล Machine Learning ที่มีประสิทธิภาพ

บทความที่แล้ว เราได้คุยกันถึงเรื่อง Overfitting ของโมเดล Machine Learning (ML) และ ความสำคัญระดับสุดยอดของมันกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องวิธีการป้องกันการเกิด Overfitting อย่างง่ายๆ กันค่ะ ขอให้ผู้อ่านใส่ใจในเรื่องนี้ให้มาก ท่องไว้เลยค่ะ โมเดล ML ไม่ว่าจะเป็นโมเดลพื้นฐาน หรือ โมเดลระดับที่มีความซับซ้อนสูง ถ้าเกิด Overfitting ขึ้นแล้วก็พังไม่เป็นท่าได้เหมือนกันค่ะ แถมเป็นการพังพินาศแบบที่ผู้สร้างไม่ทันตั้งตัวด้วย เกริ่นนำกันไปพอสมควรแล้ว เรามาดูกันดีกว่า ว่าวิธีการง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันปัญหาการ Overfitting นี้มีอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่น ถ้าผู้อ่านท่านใด ยังไม่แน่ใจว่า Overfitting คืออะไร และ เกิดขึ้นได้อย่างไร สามารถกลับไปอ่านบทความก่อนหน้าที่เราเขียนไว้ก่อนได้ที่ Overfitting vs. Underfitting อธิบายด้วยตัวอย่าง ฉบับเข้าใจง่ายที่สุดในโลก 1. Hold Out วิธีการแรกในการป้องกันการเกิด Overfitting วิธีแรกเลยก็คือ การแบ่งข้อมูลออกเป็น ชุดข้อมูลสอน (Train set) และ ชุดข้อมูลทดสอบ…

Update Course 2021

หลังจากห่างหายกันไปนาน จากคอร์สแรกในปี 2019 ในที่สุดพวกเราก็หมดภาระทางวิชาการเสียที พอกลับมามีเวลามองดูคอร์สเก่าของเราแล้ว ผมก็พบว่ามันผ่านมาสองปีแล้ว ข้อมูลหลายอย่างก็เก่าไปบ้าง ผมจึงตัดสินใจทำคอร์สนี้ขึ้นมาใหม่ให้ทุกคนได้เข้าไปดูกันได้ที่ https://algoaddict.com/p/python-for-finance ผมจะมีการปรับโครงของคอร์สให้มีเนื้อหาเชื่อมโยงกัน ปรับปรุงโค้ดให้เหมาะสมยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพให้โค้ด วิธีการเรียกใช้งานฟังก์ชั่น หรือ สไตล์ชื่อตัวแปรเล็กๆน้อยๆ สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือ คอร์สนี้คือ คอร์ส “Python for Finance” ไม่ใช่ “Algorithmic Trading” เราจะไม่ได้เน้นหนักทางการสร้างโมเดลเพื่อการลงทุนที่กำไรมาก ๆ ไม่มีการบอก “Magic Formula” ที่ทำให้รวยได้ แต่อย่างใด algoaddict 2019 คอร์สสำหรับการอัพเดตครั้งแรก ณ ปี 2021 นี้ จะแบ่งออกเป็น 9 session หลักๆ ประกอบด้วยวีดีโอ 129 วีดีโอ ความยาวเกือบๆ 15 ชั่วโมง ไม่นับที่ผมยังค้างทุกคนอยู่ไม่ได้อัพเดตของเก่าและของใหม่ที่ผมจะอัพเดตมาในอนาคต และไม่ได้นับ คือ machine learning, beta, alpha และอย่างอื่นที่ยังไม่ได้เพิ่มเข้ามาในตอนนี้…

Overfitting vs. Underfitting อธิบายด้วยตัวอย่าง ฉบับเข้าใจง่ายที่สุดในโลก

การเกิด Overfitting หรือ Underfitting เป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับการใช้ Machine Learning (ML)ในการแก้ปัญหาต่างๆ การพัฒนาโมเดล ML ทุกครั้ง ผู้พัฒนาจะต้องคำนึงถึงการ Overfitting และ Underfitting เสมอ บทความนี้ เราจะมาดูกันว่า เจ้า Overfitting และ Underfitting นี้คืออะไร และ จะมีวิธีใดบ้างในการจัดการกับมัน อะไรคือ Overfitting? บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจ Overfitting ด้วยตัวอย่างกันค่ะ ลองนึกตามนะคะ มีชาวต่างชาติชื่อนายจอนนี่ ต้องการเรียนภาษาไทย โดยไม่เคยเรียนมาก่อนหน้านี้เลย แต่ดันเคยได้ยินว่ามีคนไทยคนหนึ่ง ชื่อว่าคุณสุนทรภู่ เป็นนักเขียนชาวไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานออกมานับไม่ถ้วน ได้รับการยกย่องด้านการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างมากในประเทศไทย ถ้าต้องการเชี่ยวชาญภาษาไทยให้ได้แบบไทยแท้ๆ ก็ต้องศึกษาผลงานของคุณสุนทรภู่นี่แหละ จอนนี่จึงตัดสินใจเลยว่า 1 ปีจากนี้ เขาจะศึกษาผลงานของคุณสุนทรภู่ แบบ Non-stop เลย เรียกว่าตื่นนอนก็ขังตัวเองอยู่ในห้องสมุด และอ่านๆๆๆๆๆๆ จำๆๆๆๆๆๆ เฉพาะงานเขียนของคุณสุนทรภู่เท่านั้น หนึ่งปีผ่านไป จอนนี่มั่นใจแล้วว่า เค้ารู้จักงานเขียนของคุณสุนทรภู่…