- อาจารย์ Harry Markowitz ผู้คิดค้นทฤษฏี Modern Portfolio Theory
ในปี 1956 อาจารย์ Harry Markowitz(รูปบน) ได้นำเสนอเปเปอร์สำคัญทางด้านการลงทุน ว่าด้วยการจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยสมการ Modern Portfolio Theory หรือเรียกอีกชื่อว่าMarkowitz Portfolio Theory(MPT) ซึ่งมี Impact อย่างสูงและได้เปลี่ยนโลกการเงินไปตลอดกาล จากการวิเคราะห์การลงทุนแบบรายตัวมาเป็นวิเคราะห์การลงทุนแบบ Portfolio สมัยใหม่ เดี๋ยวเรามาดูกันอย่างกันครับว่า MPT มีไว้ทำอะไร และ สำคัญอย่างไร เพื่อความเข้าใจง่ายผมจะทำให้มีสมการน้อยเท่าที่จำเป็นนะครับ
การเข้ามาของ MPT ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อ Portfolio ให้เป็นวิชาการขึ้น จำคำที่ว่า “Don’t put all your eggs in one basket” มันได้มีการกล่าวถึงกันมานานแล้วก็จริงแต่งานนี้จะก้าวไปอีกสเตป เป็นการพิสูจน์มันทางคณิตศาสตร์ และ พรูพให้เราเห็นไปเลยว่าทำไม
ทำไมต้องมี MPT?

จากรูปเรามี Asset 2 ตัว ที่กำไรและความเสี่ยต่างกัน ตัวที่กำไรมากกว่าก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าตัวที่กำไรน้อยกว่า ดังคำกล่าว High Risk High Return ใช่ไหมครับ ถ้าเราจะคาดหวังกำไรที่มากขึ้น คือต้องการเคลื่อนกำไรจากจุดของหุ้น A ไปที่จุดของหุ้น B โดยไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงให้มากจนเกินไปนัก(หรือถ้าให้ดีก็ลดความเสี่ยงลงด้วย) เราจะทำได้หรือไม่ และอย่างไร มันมาจากสมมุติฐานว่านักลงทุนต้องการกำไรเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงให้เพิ่มขึ้น หรือทำให้กำไรให้มากพอในความเสี่ยงที่พอรับได้ MPT ถูกสร้างมาเพื่อพยายามตอบปัญหานี้ครับ
MPT ทำอะไร?
MPTเปลี่ยนแนวคิดจากการวิเคราะห์การลงทุนรายตัว เช่น วิเคราะห์ข้อมูลทั้ง A และ B จากนั้นก็ตัดสินใจซื้อ A ไปเลย หรือซื้อ B ไปเลยเปลี่ยนมาเป็นการวิเคราะห์เป็นพอร์ตแทน เพื่อเป้าหมายในการจัดพอร์ตลงทุนที่มีประสิทธิภาพ
MPT ทำงานอย่างไร?
จัด Asset ต่างๆมากกว่า 1 ตัวให้เป็นพอร์ต แล้วให้น้ำหนัก Asset แต่ละตัวต่างกันแล้วนำมาวิเคราะห์กำไรต่อความเสี่ยงของพอร์ตนั้นๆ จากนั้นเราก็สามารถทำหลายๆพอร์ต(ที่มีการให้น้ำหนักไม่เท่ากับพอร์ตอื่นๆ อาจจะมากหลายหมื่นรูปแบบ)เพื่อมาเปรียบเทียบผลงานกัน เพื่อ Optimize Return และ Risk สำหรับนักลงทุนได้
มาลุยกันเลยดีกว่า!!
สมมุติว่าเราวิเคราะห์ Asset ที่เป็น หุ้น ในพอร์ต แค่ 2 ตัว(เพื่อความง่ายในการคำนวณ) ก่อนแล้วกันนะครับ

- หุ้น A มีกำไรต่อปี 15% และความเสี่ยง 12% ต่อปี
- หุ้น B มีกำไรต่อปี 20% และความเสี่ยง 15% ต่อปี
- ทั้งสองมี Correlation กันที่ + 25
- ให้เราถือหุ้นทั้ง 2 ตัวละ 50% ของพอร์ต เนื่องจากผลรวมของหุ้นทั้งพอร์ตต้องรวมกันได้ 1 ถือหุ้นตัวละ 50% ของพอร์ตก็จะมีค่าเท่ากับ 0.5 นั่นเอง
สิ่งที่ต้องคำนวณมี 2 อย่างครับ 1 กำไรของพอร์ต 2 ความเสี่ยงของพอร์ต
กำไร(Return) ก็คำนวณง่ายๆครับแค่ ผลรวมของกำไรหุ้น A มาคูณด้วยน้ำหนักของมัน และกำไรหุ้น B มาคูณด้วยน้ำหนักของมันในที่นี้น้ำหนักเท่ากันจึงเป็น 0.5 ทั้งคู่ จึงได้เป็น
(กำไรหุ้นA * น้ำหนักหุ้นA)+(กำไรหุ้นB * น้ำหนักหุ้นB) ก็จะได้ (15*0.5)+(20*0.5) = 17.5% เราได้กำไรเพิ่มมาแล้วแล้วความเสี่ยงล่ะ
ความเสี่ยง(Standard Deviation) ก็จะยุ่งยากกว่ากำไรนิดหน่อย เนื่องจากความเสี่ยงของมันไม่สามารถรวมกันได้แบบกำไร มันจำเป็นต้องคำนึงถึง หุ้นสองตัวในพอร์ตเรามันมีความสัมพันธ์(Covariance and Correlation)ต่อกันอย่างไร (ดูได้จากMath 101 : Variancec และ Standard Deviation, Math101: Covariance และ Correlation) จึงจะสามารถคำนวณได้ [ความเสี่ยง A + ความเสี่ยง B + ความสัมพันธ์ระหว่าง A กับ B] ด้วยสมการดังต่อไปนี้

ยังไงก็ขอแปะไว้ซักหน่อยแล้วกันครับเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจสมการทั้งหมดนี่ แค่เรารู้ไว้ว่ามันทำเพื่อจะหาความเสี่ยงรวมของพอร์ตโดยแบ่งตามน้ำหนักองหุ้นแต่ละตัวก็พอครับ
ในวงกลมนี้เค้าจะบอกว่าค่า Correlation ของหุ้น A และ B เยอะแค่ไหนอย่างไร คือเอาง่ายๆคือถ้า Correlation สูงค่าความเสี่ยงก็จะสูงไปโดยปริยาย ถ้าค่า Correlation ต่ำความเสี่ยงก็จะต่ำลงถูกไหมครับ ถ้าพูดภาษาคนหน่อยก็อาจจะเป็น เราถือหุ้นอาหารกับหุ้นเทคโนโลยีไว้ ถ้าวันไหนเกิดวิกฤตกับหุ้นกลุ่มหนึงหุนอีกกลุ่มก็มีความน่าจะเป็นต่ำกว่าที่จะลดลงไปด้วยกัน คือถ้าเกิดดอทคอม หุ้นเทคโนจะลด ขณะที่หุ้นสินค่าบริโภคอย่างมาม่าไม่ลดตาม ในทางกลับกันถ้าวันหนึงวัตถุดิบในการทำมาม่ามีราคาสูงขึ้นจนกำไรมาม่าลดลงรากฌลดลงไปด้วย มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับกำไรของหุ้นเทคโนโลย ีและ จะทำให้หุ้นเทคโนโลยีไม่ได้มีราคาลดลง เป็นต้น
จากนั้น ถ้าตามสมการนี้เราจะได้ Variance ของพอร์ตเราออกมาก็ใส่สแควรูทให้มันกลายเป็น Standard Deviation ซะ

ถ้าแทนค่าสมการแล้วจะได้ 10.74%
เราได้แล้วว่าถ้าลงทุนในหุ้น A 50% ของพอร์ต B 50%ของพอร์ตเราจะได้ Expected Return 16% และ Standard Deviation 10.74%

ดูวงกลมสีเขียวที่เพิ่มขึ้นมาครับ(ถือหุ้น A 50% และหุ้น B 50%)ได้กำไรเพิ่มจาก จุด A แต่ความเสี่ยง Standard Deviation ลดซะงั้น
นั่นแหละครับการแบ่งไปลงทุนในหุ้นที่มี Standard Deviation มากกว่าไม่ใช่ว่ามันจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับพอร์ตเราเสมอไป ถ้ามัน Correlation เป็นบวกมากหน่อยคือมันจะขึ้นและลงไปพร้อมกัน เวลาที่เราขาดทุนมันก็จะขาดทุนไปพร้อมกันเคสนั้น Standard Deviation เราก็จะมากหน่อย แต่ถ้ามันมี Correlation น้อยเวลาที่ตัวหนึงขึ้นอีกตัวหนึงลง มันจะช่วยลดความเสี่ยงให้เราได้
นี่คือไอเดียของ MPT ครับ เอาละครับ เราลองมาทำดูเยอะๆหน่อยดีกว่าครับว่ามันจะมีหน้าตาเป็นยังไง
ผลงานของหุ้นตัวอย่างทั้งสอง

จากนั้นเรามาลอง Plot ดูดีกว่า

นี่แหละครับไอเดียของ MPT เพื่อให้เห็นว่าเราสามารถจัดพอร์ตอย่าไรให้มีประสิทธิภาพกันแน่ จากรูปนี่เป็นการให้น้ำหนักพอร์ตหุ้นสองตัว 11 แบบเท่านั้น มันก็ยังวิเคราะห์ได้ไม่สะใจเราพอ
เราต้องมาดูของจริงกันก่อนครับผมจะทดลองจัดพอร์ตหุ้นไทยด้วย MPT โดยจะใช้หุ้นซัก 4 ตัวประกอบไปด้วย HMPRO, PTT, CPF, TMB โดยผมจะใช้ข้อมูลช่วงปี 2010 จนถึง 2016 มาคำนวนเป็นกำไรและความเสี่ยงรายปีของหุ้นเป็นตัวอย่างนะครับ โดยถ้าเราจะมานั่งเขียนความเป็นไปได้ในการแบ่งพอร์ตด้วยหุ้นหลายๆตัวมันก็จะเหนื่อยไป เราจึงใช้กระบวนการสุ่มการแบ่งน้ำหนักขึ้นมาซัก 20,000 แบบด้วยวิธีการ Monte Carlo

นี่ครับผลที่ได้จากการทำ MPT บนหุ้นไทยที่ผมยกตัวอย่างไปด้านบน จากการแบ่งพอร์ตทำ MPT ถือสัดส่วนหุ้นต่างกัน กว่า 20,000 แบบ จะเห็นว่าหุ้นก็ตัวเดียว(ทั้ง 4) แค่ถือมันต่างน้ำหนักกันก็มีผลที่แตกต่างกันอย่างมากมายขนาดนี้แล้ว เอาล่ะครับจากรูปบนเราต้องรู้จักอีกอย่างคือ Efficient frontier

มันคืออะไร
- เส้นของพอร์ตฟอลิโอที่มีประสิทธิภาพ ที่บอกเราว่า ณ ความเสี่ยงหนึงๆเราควรจะคาดหวังกำไรแค่ไหน
มันใช้งานยังไง
- จากรูปพอร์ตของเราก็แค่เลือกหุ้นที่ใกล้เคียงกับเส้นที่สุด เพราะมันจะทำประสิทธิภาพ(กำไร)ได้สูงสุด ที่ความเสี่ยงหนึงๆ ถ้าเราเลือกพอร์ตที่จัดแล้วให้ผลความเสี่ยงต่ำกว่านั้นเท่ากับว่าเรากำลังเลือกการจัดสรรพอร์ตที่ไม่มีประสิทธิภาพนั่นเอง เพราะในความเสี่ยงเท่ากันเราสามารถจัดสรรพอร์ตให้ทำกำไรสูงกว่าได้จากเลือกพอร์ตที่อยู่ใกล้กับ Efficient frontier นั่นเอง
มีวิธีการวัดผลหลายอย่างที่เราจะมาแอฟพลายเพื่อวัดผลการจัดพอร์ตด้วย MPT ผ่านกระบวนการสุ่มค่าหลายๆครั้งก็คือการวิเคราะห์ด้วย Sharpe Ratio นั่นเอง โดยถ้าเราเลือกจาก Efficient frontier เลือกเราจะจุดที่อยู่ใกล้กับเส้น ณ จุดไหนเราก็ไม่อาจจะแน่ใจได้ จะง่ายกว่าไหมถ้าเราดูจากสมการที่เทียบความเสี่ยงต่อกำไรไว้แล้ว
เอาล่ะมาใส่ Sharpe Ratio ให้กับรูปพอร์ต MPT หุ้นไทยด้านบนกัน

คราวนี้เราก็อาจจะเลือกจัดพอร์ตจากพอร์ตที่มี Maximum Sharpe Ratio ก็ได้ (สีเขียว) Minimum Volatility ก็ได้(สีแดง) หรือจะเอา Maximum Profit ก็ได้(สีเหลือง) หรือจะเลือกจาก Stat อื่นๆก็แล้วแต่เราจะพิจรณาเลยนะครับ โอเคครับนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสมการหนึงที่เปลี่ยนโลกการลงทุนของเราไปเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้วที่ตอบคำถามง่ายๆ “เราจะเพิ่มกำไรอย่างไรโดยไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงจนเกินไปนัก” ผลที่ได้นั้นทำให้เราได้รู้ว่าเราสามารถทำแบบนั้นได้โดยที่อาจจะไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยง หรือ ถ้าทำดีๆเราสามารถเพิ่มกำไรโดยลดความเสี่ยงได้ด้วยซ้ำ ขอชาบูอาจารย์ Markowitz 1 จอก ซึ่งงานนี้ต่อมาจะถูกพัฒนาต่อ เป็นโมเดลที่หลายๆคนคงคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดีคือ Capital Asset Pricing Model (CAPM) ซึ่งก็เป็นเป็นงานที่ทำให้ผู้คิดค้น ทั้งอาจารย์ Markowitz เอง และอาจารย์ William F. Sharpe(ที่ฝากผลงาน Sharpe Ratio ที่เราใช้ๆกัน) และ อาจารย์ Merton Miller ร่วมกันได้โนเบลจาก CAPM ในปี 1990 ซึ่งจะพูดถึงกันต่อไปนะครับ
อ้างอิง
https://www.investopedia.com/walkthrough/fund-guide/introduction/1/modern-portfolio-theory-mpt.aspx
https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/economic-sciences/laureates/1990/index.html
เปเปอร์ต้นฉบับ MPT ของอาจารย์ Harry Markowitz อ่านได้ที่
2 Comments Add yours